Netizen มอง 5G หนุนเม็ดเงินลงทุนตลาดซอฟต์แวร์โต 4 แสนล้านบาท ด้านธุรกิจ IT Security เติบโตสูงช่วยปราบแฮกเกอร์เจาะข้อมูล
Netizen เผยหลังจบการประมูล 5G ตลาดซอฟต์แวร์คึกคัก เม็ดเงินลงทุนสะพัด 4 แสนล้านบาท ภายใน 5 ปีพร้อมลงทุนรองรับการเชื่อมโยง IoT คาดปี 67 มี IoT Devices มากกว่า 2.2 หมื่นล้านเครื่อง ส่งผลให้เกิดปริมาณข้อมูลมหาศาล กระตุ้นองค์กรต่างๆ หันลงทุนกับระบบ ERP แบบ Digital Core เพื่อจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาทำ Big Data Analytics เพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ทั้งช่วยเร่งให้องค์กร Cloud Computing กระตุ้นให้เกิดบริการ Cloud ที่หลากหลาย ชี้ธุรกิจอุตสาหกรรม IT Security รับอนิสงค์เติบโตสูง องกรค์ลงทุนเพิ่มปราการสะกัดการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วขึ้นของเหล่า แฮกเกอร์ แนะเร่งวางแผนเชิงรุกสร้างโอกาสทางธุรกิจจาก 5G ก่อนถูกดิสรัปชั่น
นายกฤษดา สาธุกิจชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนทติเซนท์ จำกัด (Netizen) ที่ปรึกษาการวางระบบซอฟต์แวร์การบริหารจัดการทางธุรกิจ (ERP) เปิดเผยว่า ภายหลังจากการประมูล 5G ผ่านไป นับจากนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความหวังใหม่ของประเทศไทยเพื่อเปลี่ยนระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ก้าวหน้า ช่วยยกระดับเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยให้ดียิ่งขึ้นเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศอันดับต้นๆของโลกในการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในประเทศ
ทั้งนี้ Netizen มองว่าสภาวะ Ecosystem ใหม่จากการเกิด 5G จะส่งผลให้เกิดการลงทุนด้านซอฟต์แวร์อย่างมหาศาลไม่ต่ำว่า 400,000 ล้านบาทภายในระยะเวลา 5 ปี และยังจะเกิดปรากฏการณ์การลงทุนทางด้านอุปกรณ์ที่เชื่อโยงกับ Internet of Things (IoT)หรือ IoT Devices เนื่องจากระบบ 5G สามารถรองรับการใช้งาน 1 ล้านเครื่อง ต่อตารางกิโลเมตร เมื่อเทียบกับ 4G ที่รองรับเพียง 1 แสนเครื่องต่อตารางกิโลเมตร โดยไม่ได้จำกัดเพียงโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเครื่องจักร รถยนต์ อุปกรณ์เซ็นเซอร์ และเครื่องมือทางการแพทย์ นอกจากนี้จากผลวิจัยของ Forbes ระบุว่าในปี 2567 จะมี IoT Devices ทั่วโลกที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากถึง 2.2 หมื่นล้านเครื่อง เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีเพียง 7 พันล้านเครื่องทำให้เกิดปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งให้องค์กรหันมาทำ Big Data Analytics เพื่อใช้วิเคราะห์หา Business Model รวมทั้งกระตุ้นให้องค์กรตระหนักถึงการลงทุนกับระบบ ERP แบบ Digital Core ที่รองรับและจัดเก็บข้อมูลมหาศาลมาใช้สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจอีกด้วย
“ในปี 2562 – 2563 องค์กรแต่ละแห่งเริ่มจะขยับตัวเองให้เป็น Intelligence Enterprise ให้ได้ และผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่เล็งเห็นเหตุการณ์นี้ ก็ได้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อรองรับโดยเฉพาะ ERP ที่จะสามารถรองรับปริมาณของข้อมูลมหาศาลที่จะเกิดขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญขององค์กรขนาดใหญ่ในการปรับตัวครั้งนี้ จำเป็นต้องเพิ่มความรวดเร็ว และความแม่นยำในการตัดสินใจ และกล้าคิดค้น Business Model ใหม่ๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะเกิด ซึ่งองค์กรทั้งขนาดกลางและใหญ่นั้น การวางแผนตั้งรับเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ แต่จะต้องลุกขึ้นมาปรับกลยุทธ์ธุรกิจเป็นฝ่ายรุก หากยังใช้กระบวนการตัดสินใจแบบเดิมอยู่ อาจทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะถูก Disruption โดยระบบ Ecosystem ในอีกด้านหนึ่งการเข้ามาของ 5G ก็จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ Start up ที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจที่เป็น Support service สามารถต่อยอดบริการขององค์กรขนาดใหญ่ได้มากมาย และ Support service นั้นๆ ก็จะสามารถเข้าถึงจำนวนของผู้ใช้ได้รวดเร็วเมื่อเทียบกับธุรกิจในอดีต
ด้านนายเสรี สาธุกิจชัย ประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เนทติเซนท์ จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากการประมูล 5G องค์กรต่างๆ จะเริ่มเปลี่ยนเข้าสู่ Cloud Computing ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการกล่าวถึงอย่างมาก แต่องค์กรเพียง 10% ที่เปลี่ยนสู่ Cloud Computing เนื่องจากเมื่อมีใช้งาน 5G จะเกิดปริมาณข้อมูลมหาศาล กระตุ้นให้องค์กรย้ายไปใช้ระบบ Cloud Computing อย่างเช่นระบบ ERP ที่แต่เดิมเป็นระบบ On Premise ก็จะปรับมาใช้ระบบ Real Cloud ERP ซึ่งจะเกิด บริการทางด้าน Cloud ในรูปแบบใหม่ที่หลากหลาย และเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น ส่งผลให้องค์กรต่างๆ ต้องเตรียมตัว ปรับระบบโครงสร้างพื้นฐานของตัวเองให้รองรับระบบ Cloud โดยการปรับตัวเองให้เป็น Digital Core ให้สามารถนำข้อมูลมหาศาลมาวิเคราะห์ให้เห็นโอกาสการสร้าง “New Revenue Stream” หรือสายธารใหม่แห่งรายได้ที่แตกต่างจากการทำธุรกิจในอดีต
“การนำเทคโนโลยีจาก 5G มาปรับใช้ในธุรกิจ และในทุกอุตสาหกรรมนั้น ล้วนมีโอกาสได้รับประโยชน์ หาก องค์กรเตรียมรับมือในเชิงรุก เพื่อยกระดับศักยภาพให้กับธุรกิจ โดยไม่ปล่อยให้เทคโนโลยีเป็นผ่านเข้ามาดิสรัปชั่น ยกตัวอย่างเช่นอุตสาหกรรมการผลิต สามารถช่วยลดข้อผิดพลาดในกระบวนการ ลดการเกิด Human Error ลงได้ ทั้งยังลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร และประหยัดเวลา เช่นเดียวกันกับภาคอุตสาหกรรมด้าน Health Care ยังสามารถช่วยให้การรักษาผู้ป่วยได้มีประสิทธิภาพ และบริการได้ทั่วถึงมากขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถลดระดับอาชญากรรมด้วยระบบ Smart City และที่น่าจับตาคือ Data and Network Security เพราะเมื่อระบบต่างๆมีความรวดเร็วมากขึ้น ก็จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลของแฮ็คเกอร์สามารถทำได้เร็วขึ้นเช่นเดียวกัน ฉะนั้นอุตสาหกรรม Security จะกลายเป็นอีกอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างมากจากการเกิด 5G เช่น ระบบ Anti Virus และ Data Storage Security”
ทั้งนี้คาดว่าใน 2-3 ปีเทคโนโลยี 5 G จะส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อภาคธุรกิจในวงกว้าง เนื่องจากความเร็วและการส่งผ่านของข้อมูลที่มีความเสถียรของเทคโนโลยีจะทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ (Business Model) ที่ในปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ และอาจจะส่งผลเกิดการดริสรัป (Disrupt) บางธุรกิจออกไป แต่ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้ามาของ Business Model ใหม่ๆ และส่งผลต่อธุรกิจในทุกๆ ด้าน อาทิ การพัฒนาสินค้า การพัฒนาด้านบริการ และการพัฒนาในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ ฉะนั้นผู้ประกอบการจะต้องเร่งศึกษา และปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้รองรับกับสภาพแวดล้อมของ 5G ที่ไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงโครงข่าย แต่ 5G จะมาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต Ecosystem ของผู้คนใหม่ทั้งหมด นับเป็นคลื่นดิจิทัลดริสรัปชั่นลูกใหม่ที่ทุกธุรกิจจะต้องรับมือ และต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว