ไมเดีย เปิดตัว “เสี่ยวเว่ย” หุ่นยนต์อัจฉริยะที่จะมาพลิกโฉมชีวิตในบ้าน
ไมเดีย นำเสนอหุ่นยนต์บริการในบ้านตัวแรก เป็นทั้งพ่อบ้านเอไอ ผู้ช่วยของครอบครัว ผู้รักษาความปลอดภัย และเพื่อนเล่น คุณสมบัติเพียบพร้อมรวมไว้ในหุ่นยนต์เอไอตัวเดียว
กว่างโจว, จีน–10 มิถุนายน 2565–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ไมเดีย (Midea) ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีบ้านอัจฉริยะ ขอแนะนำ “เสี่ยวเว่ย” (XIAOWEI) หุ่นยนต์ที่มาพร้อมเทคโนโลยีอัจฉริยะ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งพ่อบ้านเอไอ ผู้ช่วยของครอบครัว ผู้รักษาความปลอดภัย และเพื่อนเล่น โดยหุ่นยนต์สำหรับใช้งานในครัวเรือน “เสี่ยวเว่ย” คาดว่าจะพร้อมจำหน่ายในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ภายใต้แบรนด์อิสระใหม่ที่มีชื่อว่า “วิสฮัก” (WISHUG) ในเครือไมเดีย กรุ๊ป (Midea Group)
เสี่ยวเว่ย หุ่นยนต์สำหรับครัวเรือนรุ่นแรกของไมเดีย มีความสูงประมาณ 1 เมตร รูปลักษณ์คล้ายกับหุ่นยนต์เด็กที่มีหน้าตาน่ารัก “เราหวังว่าเสี่ยวเว่ยจะช่วยให้ชีวิตประจำวันของครอบครัวเป็นเรื่องง่ายขึ้น” ดร. ถัง เจี้ยน ผู้ดำรงตำแหน่ง IEEE Fellow, ACM Distinguished Scientist, CIE Fellow และผู้จัดการทั่วไปของศูนย์นวัตกรรมเอไอไมเดีย กล่าว
เสี่ยวเว่ยสามารถทำงานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอัจฉริยะและอุปกรณ์ IoT ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเสี่ยวเว่ยตรวจพบว่าสมาชิกในครอบครัวกำลังกลับบ้าน เสี่ยวเว่ยสามารถสั่งเปิดไฟและเครื่องปรับอากาศเอาไว้ล่วงหน้า โดยจะตั้งอุณหภูมิและความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อรอรับการมาถึงของสมาชิกในบ้าน
เสี่ยวเว่ยยังสามารถระบุตัวตนของสมาชิกแต่ละคนในครอบครัวด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้าและร่างกาย ทำให้หุ่นยนต์อเนกประสงค์ตัวนี้เป็นพ่อบ้านไอเอที่เชื่อถือได้ ทั้งยังสามารถรักษาความปลอดภัยรอบด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้สามารถสั่งการให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังทุกซอกทุกมุมภายในบ้านเพื่อตรวจตราสิ่งที่เกิดขึ้น หรือให้ช่วยหยิบของ เฝ้าสังเกตจากระยะไกล และลาดตระเวนเพื่อรักษาความปลอดภัย
นอกจากนี้ เสี่ยวเว่ยยังเป็นเพื่อนเล่นที่ดีเยี่ยม โดยมาพร้อมจอโปรเจกเตอร์ในตัวและเทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ ทำให้สามารถสร้างโรงภาพยนตร์เคลื่อนที่ ศูนย์รวมความบันเทิง และสนามเด็กเล่นแบบอินเทอร์แอคทีฟภายในบ้าน เพื่อสร้างความสนุกสนานให้กับทุกคนในครอบครัว
หุ่นยนต์เสี่ยวเว่ยสามารถสแกนทุกพื้นที่ภายในบ้านผ่านกล้องสามมิติที่ติดตั้งมาในตัว รวมถึงทำการสำรวจและสร้างแผนที่โดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งระบุลักษณะของวัตถุและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ผ่านการทำแผนที่สามมิติ ยกตัวอย่างเช่น เสี่ยวเว่ยสามารถแยกแยะโซฟาได้และรู้ว่าตั้งอยู่ตรงไหน เมื่อผู้ใช้ออกคำสั่งให้ “ไปที่โซฟา” เสี่ยวเว่ยก็จะเคลื่อนที่ไปยังโซฟาเองโดยใช้ฟังก์ชันการนำทางที่ตอบสนองต่อคำสั่งเสียง
“ในอนาคต หุ่นยนต์สำหรับใช้งานในครัวเรือนจะนำมาซึ่งความเป็นไปได้มากมาย” ดร. ถัง เจี้ยน กล่าว พร้อมกับเน้นย้ำว่าหุ่นยนต์ครัวเรือนจะเป็นเหมือนสมาร์ทโฟนและรถยนต์พลังงานใหม่ ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนและกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกครอบครัวต้องมี