Hitachi เผยโฉมปัญญาประดิษฐ์ กับความสุข (AI and Happiness) โซลูชั่นช่วยเพิ่มความสุขให้พนักงานในองค์กร

Hitachi Social Innovation Forum 2020 Bangkok – พฤติกรรมการทำงานที่มีการแข่งขันสูง กดดัน และให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของงานของชาวญี่ปุ่น ถือเป็นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ญี่ปุ่น เกิดการเติบโตทัดเทียมในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายๆ หน่วยงานต่างก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับสวัสดิการของพนักงานมากขึ้น ผ่านการคิดค้นนวัตกรรม โซลูชั่นต่างๆ  โดยเฉพาะกับสภาวะจิตใจ ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากความเครียดในการทำงาน รวมถึงผลตอบแทนที่ได้รับ ส่งผลต่อความสุขในการใช้ชีวิตอย่างไร

ฮิตาชิ เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เริ่มค้นคว้าโซลูชั่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเครียดให้กับพนักงาน  โดยการนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาปรับใช้ในองค์กรตั้งแต่ปี 2549 เริ่มจากการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทำงานกับคุณภาพของงาน  ผ่านการนำนวัตกรรมติดตั้งเข้าไปในอุปกรณ์สวมใส่  อย่างเช่น Nametags และสายรัดข้อมือ  ซึ่งจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับพฤติกรรมการเคลื่อนไหว อัตราการเต้นของหัวใจ หรือแม้กระทั่งการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน  ซึ่ง AI จะเก็บข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อตั้งสมมติฐานหาความเชื่อมโยงระหว่างความสุขของพนักงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนคุณภาพของผลงานที่ได้


ดร. คาซุโอะ ยาโน (Dr. Kazuo Yano) ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากบริษัท ฮิตาชิ

ดร. คาซุโอะ ยาโน (Dr. Kazuo Yano) ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากบริษัท ฮิตาชิ กล่าวว่า “ฮิตาชิมุ่งมั่นค้นคว้าโซลูชั่นมานานกว่า 10 ปี เพื่อนำมาใช้กับพนักงานของเราให้มีความสุขในการทำงานให้มากที่สุด ซึ่งเราพบว่ากลุ่มคนวัยทำงานเป็นวัยที่มีความเครียดมากที่สุด ดังนั้นจึงนำเทคโนโลยี AI ที่ทางฮิตาชิมีอยู่ มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของพนักงาน โดยผ่านโซลูชั่นAI and Happiness ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งบนป้ายพนักงาน (Nametags)  หรือ สายรัดข้อมือ (Wristband) เพื่อเก็บข้อมูลการทำงาน พฤติกรรมการเคลื่อนไหว อัตราการเต้นของหัวใจ หรือแม้กระทั่งการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานของพนักงานในแต่ละวัน หลังจากนั้นจะนำมาวิเคราะห์ แล้วจะแนะนำให้พนักงานทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดระหว่างวัน”

การวิจัยของฮิตาชิในการคิดค้นโซลูชั่น AI and Happiness

  1. องค์กรที่มีความสุขในการทำงานสูง ส่งผลให้คุณภาพของงานสูงตามไปด้วย
  2. ความสุขส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเงิน
  3. ความสุขที่เกิดขึ้นในองค์กร ไม่ได้คำนึงถึงประเภทของงานหรือพนักงาน

ในอนาคตทางฮิตาชิสนใจที่จะพัฒนาและนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาปรับใช้กับองค์กรเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และงานบริการให้ลูกค้า ภายใต้การเพิ่มความสุขของพนักงานในองค์กร

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่