คดีพลิก! คริปโตไม่ได้ทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างที่คิด Binance เผยคริปโตใช้พลังงานน้อยกว่าธนาคารทั่วโลกถึง 19.4 เท่า

กรุงเทพฯ (2 มิถุนายน 2566) – ปัจจุบันเกิดข้อถกเถียงจนกลายเป็นความเชื่อในวงกว้างว่าคริปโตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแท้จริงแล้ว หากทุกคนได้ทราบถึงเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง พร้อมทั้งลองเปรียบเทียบการใช้พลังงานของบล็อกเชนกับระบบอื่นๆ รวมถึงได้รับรู้ถึงความพยายามของผู้เล่นในอุตสาหกรรมคริปโตที่ต้องการลดรอยเท้านิเวศน์ (ecological footprint) เราเชื่อมั่นว่าทุกคนจะได้คลายความสงสัยและแก้ไขความเข้าใจผิดได้อย่างแน่นอน

จุดเริ่มต้นของการเข้าใจผิด

นักวิจารณ์มีการเชื่อมโยงว่าคริปโตเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการขุดเหรียญที่ต้องใช้พลังงานมาก โดยสาเหตุดังกล่าวมาจากการที่ Bitcoin และโปรเจคอื่นๆ ต้องอาศัยกลไกที่เรียกว่า proof-of-work (PoW) ซึ่งทำให้เหล่านักขุดต้องแก้ปริศนาอันแสนซับซ้อนด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ที่ทรงพลัง แต่อย่างไรก็ตาม ถือเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง หากจะบอกว่าการใช้พลังงานจำนวนมากนั้นส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การทำความเข้าใจคริปโตผ่านมุมมองที่รอบด้าน และคำนวณถึงผลกระทบในวงกว้างที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในบริบทนี้

ทั้งนี้ งานวิจัยของ Galaxy Digital ในปี 2021 เผยว่า ศูนย์ข้อมูลของธนาคารชั้นนำกว่า 100 แห่งทั่วโลกมีการปล่อยพลังงานมากกว่าเครือข่าย Bitcoin ถึง 2 เท่า นอกจากนี้ ยังมีการประมาณการถึงปริมาณไฟฟ้าที่สูญเสียจากการนำส่งและจ่ายไฟฟ้าต่อปีของธนาคารโลกและสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ ซึ่งสูงกว่าบล็อกเชน Bitcoin ถึง 19.4 เท่า เมื่อเทียบกับปริมาณที่ใช้ในช่วงเวลาเดียวกันเลยทีเดียว

การพัฒนาการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน

นับเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างยิ่ง กับแนวคิดที่ว่าการขุด Bitcoin สร้างความเสียหายกับสิ่งแวดล้อม โดยรายงานของสภาการขุด Bitcoin (Bitcoin Mining Council) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2022 เปิดเผยว่า กว่า 59.5% ของพลังงานทั่วโลกที่ใช้ขุด Bitcoin นั้นมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเซมิคอนดัคเตอร์และเทคนิคการขุดสมัยใหม่ยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการปล่อยมลพิษได้มากถึง 46% เมื่อเทียบแบบปีต่อปี นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานอ้างอิงเพิ่มเติมอีกว่าเหล่านักขุดคริปโตกำลังเริ่มหันมาใช้แหล่งพลังงานที่ยั่งยืน ซึ่งส่งผลให้เกิดมลพิษน้อยลงแม้จะมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นก็ตาม

ทั้งนี้ การร่วมมือกันระหว่างธุรกิจเหมืองคริปโตและผู้ผลิตพลังงานแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการลดการใช้พลังงาน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะลดการผลิตพลังงานเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งจะส่งผลให้การใช้พลังงานส่วนเกินหมดไป โดยการวิจัยเผยให้เห็นว่าการขุดคริปโตสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ด้วยการการใช้พลังงานหมุนเวียน พร้อมทั้งเป็นตัวอย่างสำคัญในการส่งเสริมผู้คนให้หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย 

ระบบ consensus และประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน

ความสนใจที่มุ่งไปยัง Bitcoin และระบบ PoW ทำให้ทุกคนมองข้ามประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของระบบ consensus ในบล็อกเชนอื่นๆ ทั้งนี้ โซลูชัน Proof-of-stake อย่าง Ethereum ถูกเปลี่ยนผ่านจาก PoW มาเป็น PoS เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงอย่างมาก โดยสถาบันจัดอันดับคาร์บอนในคริปโต หรือ CCRI ได้ตรวจสอบผลกระทบของการเปลี่ยนผ่าน Ethereum และพบว่าการใช้พลังงานไฟฟ้าและปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ลดลงกว่า 99.9%

ทั้งนี้ งานวิจัยของศูนย์วิจัยด้านการเงินทางเลือกของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แสดงให้เห็นว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้ารายปีของ Ethereum ในขณะนี้ เทียบเท่ากับการใช้เครื่องปรับอากาศ 587 เครื่องในหนึ่งปี และยังน้อยกว่าจำนวนการใช้พลังงานไฟฟ้าของบริษัทระดับโลกและตึกชื่อดังหลายแห่งรวมกัน ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการอนุรักษ์พลังงานของ Ethereum ที่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีและชัดเจน ถึงแม้จะมีจำนวนการประมวลผลทางธุรกรรมสูงก็ตาม

บทบาทของบล็อกเชนต่อการแก้ไขปัญหาด้านความยั่งยืน

นอกจากเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เทคโนโลยีบล็อกเชนยังช่วยส่งเสริมด้านความยั่งยืนด้วยเช่นกัน จากการทำหน้าที่ในการติดตามและแสดงแหล่งที่มาของสินค้าต่างๆ เพื่อยืนยันว่าสินค้าเหล่านั้นถูกผลิตขึ้นอย่างยั่งยืนและมีจริยธรรม รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภคในการปฏิบัติตนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเทรดแบบ peer-to-peer เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถขายพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินให้กับเพื่อนบ้านได้โดยตรงอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น คริปโตและบล็อกเชนยังมีศักยภาพในการส่งเสริมความยั่งยืนในอนาคต ผ่านการส่งเสริมระบบฉันทามติด้านการประหยัดพลังงาน การขับเคลื่อนนวัตกรรมในการสร้างพลังงานหมุนเวียน และส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการรับมือกับความท้าทายเรื่องความยั่งยืนทั่วโลก ตลอดจนช่วยสร้างโลกที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน