dtac Family Care

แนะนำแอป dtac Family Care ควบคุมการเล่นเน็ตของลูกง่ายๆ ติดตามตำแหน่งลูกได้

“ดีแทค” ผุดแอป dtac Family Care กรองเนื้อหา ช่วยพ่อแม่เลี้ยงลูกยุคดิจิทัล

“ดีแทค” ผุดแอปพลิเคชัน dtac Family Care ผู้ช่วยยุคดิจิทัล หวังช่วยพ่อแม่คัดกรองเนื้อหา ควบคุมการเล่นอินเทอร์เน็ตของลูก สถิติเผยเด็กเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในรอบ 5 ปี ชี้กว่าครึ่งเล่นอินเทอร์เน็ตทุกวัน

นางสาวปริศนา รัตนสุวรรณศรี ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานธุรกิจโพสต์เพด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค

นางสาวปริศนา รัตนสุวรรณศรี ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานธุรกิจโพสต์เพด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า จากอัตราการขยายตัวผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสารสนเทศในไทย โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก ดีแทค ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล ได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้องและปลอดภัย จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชันร่วมกับ Smith Micro Software Inc (SMCI) ผู้ผลิตซอฟท์แวร์สัญชาติอเมริกัน เพื่อดูแลคนในครอบครัว และเสมือนได้อยู่ใกล้ทุกเวลา โดยแบ่งได้เป็น 6 ฟังก์ชันการใช้งานหลัก ได้แก่ การดูแลการใช้งานแอปพลิเคชัน, ดูแลการใช้งานโทรออกและรับสาย, สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน (SOS), การติดตามตำแหน่งแบบเรียลไทม์, สร้างพื้นที่ปลอดภัย และการติดตามโทรศัพท์กรณีสูญหาย

ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้แอปพลิเคชัน dtac Family Care คือ พ่อแม่ที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี ที่มีลูกอายุระหว่าง 6-15 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีการถือครองโทรศัพท์ของตัวเองและเป็นช่วงที่พ่อแม่ยังสามารถควบคุมการใช้งานโทรศัพท์ได้ เป็นจังหวะที่ดีในการสร้างวินัยในการใช้สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต ขณะที่เด็กอายุมากกว่า 15 ปี เด็กจะย่างเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ซึ่งจะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง และต้องการพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งจะยากต่อการสร้างวินัย ดังนั้น เด็กช่วงวัยก่อน 13-15 ปี จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการสร้างวินัยในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย

introduction of dtac Family Care appilication

จากการรายงานเรื่องการสำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2559 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า เด็กอายุระหว่าง 6-14 ปี มีแนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น จาก 35.9% ในปี 2553 เป็น 61.4% ในปี 2559 โดยในกลุ่มเด็กที่ใช้อินเทอร์เน็ต 51.6% มีการใช้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งและ 47.4% ใช้ทุกวัน ขณะที่ระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ต เด็กส่วนใหญ่ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงต่อวัน

สะท้อนถึงพฤติกรรมเด็กที่เกิดมาในยุคดิจิทัล (digital native) กับการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยเฉพาะปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว ติดเกมจนไม่ยอมรับประทานอาหาร หมกมุ่นอยู่กับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา จนอาจนำไปสู่ปัญหาเด็กติดเกม พฤติกรรมเสพติดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

“เราหวังว่าแอปพลิเคชัน dtac Family Care จะช่วยเป็นเสมือนผู้ช่วยให้แก่พ่อแม่ในยุคดิจิทัล ในการสอดส่องและป้องกันภัยอันตรายที่อาจเกิดต่อลูกและคนที่คุณห่วงใยได้อย่างเหมาะสม แม้จะอยู่ห่างไกลกันก็ตาม ซึ่งนี่ถือเป็นอีกพันธกิจหนึ่งของดีแทคในการสร้างเสริมความยั่งยืนต่อสังคมและครอบครัวสืบไป” นางสาวปริศนากล่าว

เกี่ยวกับแอปพลิเคชัน dtac Family Care

แอปพลิเคชัน dtac Family Care เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ครอบครัวดูแลได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ด้วยฟังก์ชันการใช้งานหลักดังนี้

1. ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ ด้วยการควบคุมการโทร และการใช้แอพพลิเคชั่น โดยสามารถระบุเวลาในการใช้งานหรือกำหนดเบอร์ที่สามารถติดต่อได้

2. ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ ด้วยการควบคุมการโทร และการใช้แอพพลิเคชั่น โดยสามารถระบุเวลาในการใช้งานหรือกำหนดเบอร์ที่สามารถติดต่อได้

3. ติดตามความปลอดภัยด้วยระบบระบุตำแหน่งที่อยู่แบบ Real-time

4. สร้างขอบเขตพื้นที่ปลอดภัย โดยหากสมาชิกในครอบครัวออกหรือเข้าพื้นที่ปลอดภัย ระบบจะส่งข้อความแจ้งทุกคนในครอบครัว

5. ส่งสัญญาณฉุกเฉินให้สมาชิกทุกคน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

6. ติดตามโทรศัพท์ที่สูญหาย หรือป้องกันข้อมูลจากระยะไกล

การดาวน์โหลดและผู้มีสิทธิใช้งาน

1. ผู้มีสิทธิใช้งาน ได้แก่ ลูกค้าดีแทค ทั้งระบบรายเดือนและเติมเงิน

2. ลูกค้าทุกคนทดลองใช้บริการฟรี 1 เดือน

3. เมื่อสมัครบริการรายเดือน 59 บาทต่อเดือน

4. ลูกค้า Share Package ใช้บริการฟรีตลอดอายุแพ็กเกจ

5. ลูกค้า Blue Member ใช้บริการฟรี 12 เดือน

dtac Family Care

ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันยุคดิจิทัล

ผู้เชี่ยวชาญชี้เด็กขาด “พื้นที่สีขาวบนอินเทอร์เน็ต” หวั่นกระทบการพัฒนาการเด็กยุคดิจิทัลระยะยาว พร้อมแนะพ่อแม่สร้างวินัยแก่เด็กก่อน 13 ปี ชู “ระบบคัดกรองเนื้อหา” ตัวช่วยสำคัญพ่อแม่ไซเบอร์

นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า พ่อแม่มือใหม่ในปัจจุบันต่างกับยุคเก่า โดยเฉพาะวัฒนธรรมการเลี้ยงดู เวลาที่น้อยลง เช่นเดียวกันก็ให้ความอิสระกับลูกมากขึ้น ปล่อยให้สำรวจสิ่งแวดล้อมผ่านเทคโนโลยี เปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้ด้วยตัวเองที่สูงขึ้นและรวดเร็ว ซึ่งเป็นไปตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงและยากที่จะหลีกเลี่ยง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พ่อแม่ควรตระหนักคือ การสอนให้รู้เท่าทัน ควบคุม และสร้างวินัยการเข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ตแก่เด็ก โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีลงมา เนื่องจากเป็นช่วงพัฒนาการทางสมองของเด็กในการจดจำ และยังสามารถควบคุมได้ ขณะที่เด็กที่อายุ 13 ปีขึ้น เป็นช่วงที่เข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งหากมีการควบคุมมากเกินไป อาจเกิดการต่อต้านอย่างรุนแรงได้

“อินเทอร์เน็ตเปรียบแหมือนตลาดที่เด็กสามารถเข้าไปช้อปปิ้งความรู้ ความสนุกสนาน ขณะเดียวกันก็มีทั้งของดีและของไม่ดีปะปนกัน ซึ่งเด็กอาจเข้าไปสัมผัสโดยไม่รู้ตัวได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาว เช่น ความรุนแรง บุคลิกภาพ หรือการล่อลวง ดังนั้น ระบบคัดกรองจึงเป็นสิ่งสำคัญในการให้พื้นที่สีขาวเด็กได้เรียนรู้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์” นพ.อดิศักดิ์ กล่าว

ระบบคัดกรองอย่างแอปพลิเคชันประเภท Parental Control ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการจัดเตรียมพื้นที่สีขาวแก่เด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกัน ผู้ผลิตแพลตฟอร์มและคอนเทนท์ควรมีการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหา ตัวอย่างเช่นนโยบายการใช้งานของเฟสบุ๊กที่กำหนดให้ผู้ใช้ต้องมีอายุ 13 ปีขึ้นไป

นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า ภาครัฐควรตระหนักถึงปัญหาการขาดภูมิคุ้มกันการใช้อินเทอร์เน็ตที่ถูกต้อง ซึ่งควรมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ทันสมัย ครอบคลุมถึงสื่ออินเทอร์เน็ตด้วย สร้างพื้นที่อินเทอร์เน็ตสีขาวให้กับเด็กก่อน 13 ปีมากยิ่งขึ้น ในต่างประเทศ ทั้งรัฐบาลและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต่างให้ความสำคัญกับพื้นที่สีขาว ถึงขั้นกำหนดเป็นนโยบายพื้นฐานในการบล็อกเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมแก่เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี

“ระบบคัดกรองเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการเลี้ยงดูลูกยุคดิจิทัลเท่านั้น มากกว่านั้นเป็นหน้าที่ของครอบครัวในการให้ความเอาใจใส่ ให้ความรักความอบอุ่นแก่คนในครอบครัว” นพ.อดิศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

นางอรอุมา ฤกษ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า เด็กอายุระหว่าง 6-14 ปี มีแนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น จาก 35.9% ในปี 2553 เป็น 61.4% ในปี 2559 โดยในกลุ่มเด็กที่ใช้อินเทอร์เน็ต 51.6% มีการใช้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งและ 47.4% ใช้ทุกวัน ขณะที่ระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ต เด็กส่วนใหญ่ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงต่อวัน

ขณะที่สถานที่ที่เด็กเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ โรงเรียน 82.8% สถานที่ต่างๆ 58.2% และบ้าน 48.4% นอกจากนี้ เด็กอายุ 6-14 ปี เสพเนื้อหาผ่านคอมพิวเตอร์เป็นอันดับ 1 ที่ 83.3% ตามด้วยสมาร์ทโฟนที่ 59% และแท็บเล็ต 18.1%

สำหรับกิจกรรมที่เด็กกลุ่มนี้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ความบันเทิง ฟังเพลง ดูยูทูป ตามด้วยโซเชียลเน็ตเวิร์ค อัพโหลดรูปภาพ ค้นหาข้อมูล การศึกษา รับส่งอีเมล และโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)

นางอรอุมา กล่าวว่า จากข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การดูแลของพ่อแม่ย่อมมีจุดบกพร่อง โดยเฉพาะที่ยุคอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่ง ดังนั้น ระบบคัดกรองจึงเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากนี้ ความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีของพ่อแม่ก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก ตลอดจนการเท่าทันพฤติกรรมเด็กยุคใหม่ โดยพ่อแม่ควรเปิดใจคุยกับลูกต่อการใช้อินเทอร์เน็ต โดยพูดคุยถึงพฤติกรรมตั้งแต่เด็กเริ่มมีพัฒนาการในการจดจำ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ จากนั้นจึงหาโอกาสพูดคุย อภิปรายระหว่างทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ขณะดูโทรทัศน์ เล่นแทบเล็ต ซึ่งจะทำให้เกิดการซึมซับข้อมูล นอกจากนี้ พ่อแม่ยังควรเป็นผู้ฟังและผู้สื่อสารที่ดี อธิบายให้ชัดเจนถึงการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ และที่สำคัญ พ่อแม่ควรตั้งกติกาในการออนไลน์ เพื่อสร้างพฤติกรรมและวินัยที่ดีแก่เด็ก

ดีแทค มุ่งมั่นส่งเสริมและสร้างภูมิคุ้มกันการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ภายใต้โครงการ Safe Internet ซึ่งได้ดำเนินการเป็นระยะเวลาราว 3 ปีถึงปัจจุบัน และจะดำเนินการอย่างเข้มข้นในการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ประเทศไทย 4.0